การกลับมาอีกครั้ง

การกลับมาใช้งาน wordpress บน wordpress.com อีกครั้งหลังจากห่างหายไปนาน เนื่องจากไปโฟกัสเรื่องงานที่ทำเป็นหลัก กลับมาครั้งนี้เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ wordpress มากยิ่งขึ้น

Ubuntu กับงมโข่ง wireless

ผมงงกับการเปิด wireless บน Ubuntu มาเกือบอาทิตย์ ตอนลงทีแรกมันเห็นพอปิด wireless ที่ notebook (อ้อลืมบอก Notebook ของผมเป็น Compaq Presario V3000 มีสวิชต์เปิดปิด wireless ครับ) เปิดขึ้นมาใหม่หายจ้อยเลยครับ เลยพยายามอยู่นานใน google นึกแล้วนึกอีก หาแล้วหาอีกใน google หายังไงก็ไม่เจอ จนวันนี้หาไปหามาก็ไปได้คำสั่งนึงมาครับ แค่สั้นๆ ได้ใจความ ออกมาหมดเลยครับดังนี้ครับ

เปิดเทอร์มินัล ขึ้นมาแล้วใส่นี่เข้าไปเลยครับ

$sudo rfkill unblock all

แค่นี้หล๊ะครับจบข่าว คำสั่งนี้เพื่อเปิดการใช้งานเน็ตเวิร์คทั้งหมด

กลับมา และอยู่กับขณะปัจจุบัน

ตอนนี้ปี 2 แล้วเริ่มเหนื่อยกับงานและการเรียนที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งงานก็หนักเรียนก็หนัก เหมือนถาโถมเข้ามาพร้อมๆ กันจนไม่รู้ว่าจะทำอะไรเป็นหลักอะไรเป็นรอง ตอนนี้พยายามจัดสรรเวลาและจัดลำดับความสำคัญ และจะพยายามให้เวลากับทั้งสองอย่าง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสสากันพอสมควร แต่ผมก็พยายามเอาเรื่องที่เรียนนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานและเอาการทำงานไปอยู่ในส่วนหนึ่งของการเรียน เพื่อจะได้ทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กันได้และไม่เสียทั้งสองอย่าง ซึ่งเรื่องแรกที่ทำคือ Cloud ในสถานศึกษา ซึ่งทำให้เป็นงานหนักที่ผมต้องเริ่มศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูล ซึ่งตัวผมเองก็ได้ศึกษาเรื่องนี้มาค่อนข้างนานแต่ก็ไม่กระจ่างเรื่องนี้ซักที เพราะว่าก็ยังมองไม่ออกว่า จริงๆ แล้วการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งก็ได้ศึกษาจากหลายๆ ที่ ก็เห็นภาพแต่ก็ยังมองไม่ทะลุถึงแก่นแท้ของระบบ ตอนนี้ก็พยายามที่จะศึกษาและค้นคว้าอย่างหนัก ลองเล่น ลองใช้ บางทีก็ไม่เข้าใจว่าระบบทำงานอย่างไรทั้งๆ ที่มันก็เหมือนเปิดเว็บธรรมดา ก็พยายามที่จะเข้าใจเข้าถึง แต่ก็มีเรื่องนึงที่ผมค่อนข้างจะดีใจ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะดีใจดีหรือเปล่า คือมีคนเอาบทความเกี่ยวกับเรื่อง Cloud ที่ผมเคยเขียนไว้ใน Blog นำไปอ้างอิงเผยแพร่ต่อ ซึ่งทำให้ผมก็ค่อนข้างแอบดีใจเล็กๆ แต่จะดีใจกว่านี้ถ้าเป็นบทความที่ผมสร้างขึ้นเองและเข้าใจมันอย่างท่องแท้ ตอนนี้ก็พยายามศึกษาเพราะอย่างนึงคือผมต้องจบทั้งระบบงานและการศึกษาในเรื่องนี้ภายใน 6 เดือน ไม่เช่นนั้นผมก็ไม่จบแน่ๆ ครับ ตอนนี้ก็เลยเป็นภาระและความท้าทายอันหนักอึ้งที่ผมต้องรีบทำอย่างเร่งด่วน คนแรกที่ต้องขอบคุณคือ รศ.ยืน ภู่วรวรรณ ที่ได้จุดประกาย และสร้างความอยากที่จะเดินหน้าไปสู่ระบบ Cloud คนที่สองคือคุณ javaboom ที่เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างดี ณ ขณะนี้ผมต้องเดินหน้าต่อไป ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ตั้งแต่วันนี้ไป Blog แห่งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานด้าน Cloud และจะนำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผมทำมาลงใน Blog เพื่อเป็นที่เตือนความจำและเป็นที่เผยแพร่ความรู้ให้คนอื่นๆ ได้เข้ามาศึกษาด้วยครับ

ร่ายมาก็ยาว ขอตัวทำงานก่อนนะครับ

 

สวัสดีครับ

km สร้างงานหรือสร้างภาระ(งาน)

ที่ขึ้นต้นหัวข้อแบบนี้เพราะว่าการทำ km: knowledge management ถ้าคนไม่เข้าใจว่าทำทำไม ทำไปเพื่ออะไร ทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร ทำแล้วได้อะไร มันจะกลายเป็นภาระสำหรับคนที่ถูกบังคับให้ทำ ซึ่งจริงๆ หลายคนหลายงานที่ทำ km กันโดยไม่รู้ตัว แม้แต่ในชีวิตประจำวันของคนเราเองก็ตาม มีการทำ km ตลอดเวลา อย่างเช่นเรื่องใกล้ตัว แม่สอนให้ลูกทำกับข้าว ถามว่าลูกทำตามแม่แล้วจดบันทึกวิธีการทำไว้ แล้วนำมาประยุกต์ให้เป็นสูตรการทำของตัวเอง ผมถือว่านี่คือ km เพราะได้นวัตกรรมใหม่โดยตัวของลูก และลูกก็ไม่รู้ว่าตัวเองได้ทำ km ไปแล้ว ถามว่ามันกลายเป็นกระบวนการสร้างคุณค่าอีกหรือเปล่า ผมมองว่าใช่เพราะถูกใส่กระบวนการดัดแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ๆ อย่างเช่นการทำไข่ดาว เรื่องง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้ แต่ถามว่าถ้าทำไข่ดาวแบบด้าน แบบกรอบ แบบกำหนดรูปร่างของไข่ดาว มันก็มีกระบวนการต่างๆ กันไป คนคิดกระบวนการนี้ขึ้นมาก็ถือว่าเป็นกระบวนการสร้างคุณค่า หรือเป็นวิศวกรรมคุณค่า(VE: Value engineering) และก็เป็นการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) ไปในตัวทำหนึ่งอย่างแต่ได้หลายอย่าง จริงๆ แล้วถามว่าถ้าเรามองว่ามันเป็นการทำเพื่อเป็นกระบวนการสร้างคุณค่า เป็นการจัดการความรู้ เป็นการทำวิศวกรรมคุณค่า มันจะกลายเป็นภาระทันที แต่ถ้าเราทำโดยที่คิดว่าเราอยากทำ มันจะกลายเป็นการสร้างงาน เป็นการสร้างสรรค์งาน สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ถึงจะไม่ใช่ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับจังหวัด แต่มันอยู่ที่ระดับในใจเรามากกว่า เพราะงานบางอย่างเป็นงานที่ทำอยู่เบื้องหลัง ฉากหน้าอาจจะไม่เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ฉากหลังถูกใส่กระบวนการและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้าไป อย่างเช่น เราทำคุณภาพน้ำประปา ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สะอาดมากยิ่งขึ้น ถามว่ามีใครรู้ใครเห็นกับเราบ้าง แต่กระบวนการที่เราทำให้น้ำมีคุณภาพ สะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่ต้องต้มก็สามารถรับประทานได้ ดื่มได้ นั่นคือสิ่งที่เราทำมันก็คือสิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่ได้กล่าวมา เพียงแต่ว่ากระบวนการต่างๆ เหล่านั้นเราได้บันทึกของเราไว้และนำมาเผยแพร่สู่บุคคลอื่นๆ จากบุคคลสู่บุคคล จากหน่วยงานสู่หน่วยงาน จากจังหวัดสู่จังหวัด หรือจากรุ่นสู่รุ่น มันก็กลายเป็นคลังความรู้โดยที่เราไม่รู้ตัว คนเราชินกับการบอกเล่า แต่ไม่ชินกับการบันทึก ชินกับการใช้ความสามารถกับการทำงานประจำคิดว่าเราทำได้แล้วทำอยู่ทุกวันจะไปลืมได้ไง แต่ลืมไปว่าเราต้องทำงานอยู่คนเดียว เหนื่อยคนเดียว เกริ่นนำมาตั้งนาน เพียงแค่ว่าอยากให้เห็นภาพกันก่อนที่จะเข้าเนื้อหาครับ

ทุกวันนี้เราต่างคนต่างค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆ ทำวิจัยเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้และนำสิ่งที่รู้มาจัดเก็บและเผยแพร่ให้บุคคลอื่นได้รู้ ถ้าความรู้นั้นถูกสั่งสมมากๆ เราก็เรียกผู้นั้นว่าผู้เชี่ยวชาญ แต่การสั่งสมไว้กับบุคคลก็เป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่ง คือ ถ้าสูญเสียบุคคลนั้น ความรู้นั้นก็สูญสิ้นไปด้วย ดังนั้นถ้ามีการบันทึกเรื่องราว และสิ่งที่เป็นความรู้ไว้เป็นเอกสารเพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษา เรียนรู้ได้ ทุกวันนี้คงต้องยอมรับว่า แหล่งความรู้มีอยู่อย่างมหาศาล และกระจายอยู่ทั่วโลก ความรู้ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน จนทุกวันนี้เรามีสิ่งที่กระจายความรู้ การสร้าง การบันทึก และนำไปใช้ทำได้ง่ายและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน

ทุกวันนี้ภายในองค์กรเต็มไปด้วยเอกสาร โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งสร้างความรู้ งานวิจัย งานค้นคว้า งานรวบรวม งานเก็บสะสม การเรียกค้น การใช้งานต่างๆ ความจำเป็นเหล่านี้มีบทบาทและสร้างความสำคัญในมหาวิทยาลัย และองค์กรอย่างมาก ความรอบรู้ที่เกิดขึ้น เมื่อรวมกันตามแนวคิดของอิเล็กทรอนิกส์ อาจรวบรวมขึ้นใช้ประโยชน์ได้ง่าย สร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้อย่างมากมายมหาศาล

เมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเราจึงต้องจัดการ ดังนี้

งานเอกสาร สิ่งพิมพ์ เป็นงานที่มีการสร้างขึ้นทุกวัน และนับวันยิ่งสร้างขึ้นมาก และใช้งานกันตลอดเวลา งานนี้มีบทบาทสำคัญเพราะเกี่ยวโยงกับการทำงานรายวัน
งานอีบุค อีไลบรารี ปัจจุบันมีการจัดการเอกสารสิ่งพิมพ์ในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหลายรูปแบบตั้งแต่การเก็บเอกสารแบบ Acrobat แบบอีบุค และ XML รวมทั้งการจัดเก็บเอกสารแบบรูปภาพ หรือการสแกนเอกสารหนังสือ เมื่อมีเอกสารสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนรวบรวมไว้ การดำเนินการแบบดิจิตอลไลบรารี จึงเป็นทางหนึ่งที่จะให้บริการได้อย่างเต็มที่
ระบบฐานข้อมูล ข้อมูลข่าสารทั้งที่เป็นข้อมูลดำเนินการ เช่น ฐานข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร สถานที่ การเงิน การบริการ ตลอดจนงานข้อมูลเกี่ยวกับนิสิตนักศึกษา งานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ งานวิจัย งานเอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น วิทยานิพนธ์
เว็บ การเก็บข้อมูลจำนวนมากอีกวิธีหนึ่งคือ การเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ การเก็บข้อมูลด้วยเว็บทำได้ง่าย รวดเร็ว และยังสามารถเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งมัลติมีเดีย และข้อมูลที่ไม่มีรูปแบบ (unformat)
อีเมล์ เอฟทีพี (FTP) ข้อมูลเป็นไฟล์ ทรัพยากรโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลอีเมล์ส่วนตัว อีเมล์ของหน่วยงาน ขององค์กร การสร้าง FTP เซิร์ฟเวอร์เพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก การจัดการข้อมูลที่เป็นแฟ้มไว้ใช้งานร่วมกัน
บุคลากร ทรัพยากรความรู้ ความชำนาญเฉพาะตัวบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญ การสั่งสมความรู้ในตัวบุคคลมีมาก ทำอย่างไรจึงจะให้บุคคลสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่าย และแลกเปลี่ยนความรู้ เช่น ถ้ามีความต้องการที่จะรับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ก็สามารถติดต่อและแลกเปลี่ยนความรู้กันได้

ลองมาดูรูปแบบของโมเดลการจัดการกันครับ

ระดับการประยุกต์ใช้งาน

ความรอบรู้ ปัญญา เพื่อการแข่งขัน

การสร้างสมประสมการณ์

การพัฒนาระบบการประยุกต์

การสร้างความสัมพันธ์และการให้บริการ

การเชื่อมโยงผู้ใช้ สถานีความรอบรู้ (Knowledge Portal)
การบริการความรอบรู้ การให้บริการการค้นหา การให้บริการการทำงานร่วมกัน
การจัดคำสำคัญและดัชนี แผนผังความรอบรู้
การจัดการเนื้อหา การจัดเก็บความรู้ ที่เก็บ การจัดการที่เก็บ
โครงสร้างพื้นฐาน ระบบเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูล เครือข่ายcampus อินเตอร์เน็ต
ข้อมูลข่าวสารความรอบรู้ เอกสารข้อความ ดิจิตอลไลบารี อีบุ๊ค ฐานข้อมูล อีเมล์

FTP

เว็บ บุคลากร

ความท้าทายในเรื่องการบริหารและการจัดการความรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญของทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย องค์กรธุรกิจเอกชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพราะสภาพการทำงานในยุคต่อจากนี้จะเกี่ยวข้องกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ การดำเนินการภายในองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญที่จะจัดการความรู้ในองค์กร หน่วยวิจัยหลายแห่งได้พยากรณ์ให้เห็นว่า คอมพิวเตอร์จะมีพัฒนาการที่เร็วมาก จนมีขีดความสามารถในการจัดเก็บขนาด TB-Terabyte หรือมากกว่า 1000 จิกะไบต์ ภายในเครื่องแบบใช้งานคนเดียวได้ภายในปีสองปีนี้ และกระแสที่กำลังมาแรงอย่างมากในปีนี้ก็คือ Virtualization หรือ Cloud Computing ที่กำลังให้ความสำคัญไปในเรื่องการทำให้ทุกอย่างอยู่บนอากาศที่สามารถจับต้องได้ ที่ผมได้เคยเขียนไว้ในตอนก่อนๆ  ประจวบกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ เช่น ซีดี ดีวีดี ก็มีแนวโน้มของการใช้เก็บข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น จากสภาพการใช้ข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้นนี่เองทำให้นักพัฒนาระบบไอทีได้เร่งพยายามหาหนทางในการจัดการความรอบรู้ ทั้งภายในระดับบุคคล ระดับองค์กร หรือแม้แต่ระดับ World Knowledge

สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้คือ เรื่องมาตรฐานการจัดการความรอบรู้ เราให้ความสำคัญในเรื่อง Meta Data หรือข้อมูลที่ใช้ควบคุมข้อมูลเพื่อว่าเราจะจัดการข้อมูลได้ ระบบหนึ่งที่นำมาใช้คือ XML-eXtensible Markup Language ระยะนี้จะเป็นส่วนสำคัญของการจัดการข่าวสารต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงและบริหารจัดการได้ ความรู้จึงเป็นเรื่องที่จะกล่าวถึง สมกับคำว่า ผู้ใดมีความรู้ ผู้นั้นจะมีอำนาจ ก็ฝากไว้ให้คิดนะครับ ว่าเราจะไปต่อกันอย่างไร ในยุคสมัยแบบนี้ ขอให้มีความสุขและสนุกกับการจัดการความรู้ในตัวตนครับ